Testing Two ทดสอบ

หลักฐานการฟ้องชู้ มีอะไรบ้าง หลักฐานจะต้องชัดแค่ไหนจึงจะเพียงพอกับการฟ้องคดีชู้ ? จะหาพยานหลักฐานเรื่องชู้ได้จากไหน ? สืบชู้ต้องทำอย่างไร จ้างนักสืบจะคุ้มไหม ? คำถามเหล่านี้…
บทความ
หลักฐานการฟ้องชู้ มีอะไรบ้าง หลักฐานจะต้องชัดแค่ไหนจึงจะเพียงพอกับการฟ้องคดีชู้ ? จะหาพยานหลักฐานเรื่องชู้ได้จากไหน ? สืบชู้ต้องทำอย่างไร จ้างนักสืบจะคุ้มไหม ? คำถามเหล่านี้ เป็นถามที่คนที่ต้องการฟ้องชู้ทุกคนอยากรู้ และทนายความก็ต้องเข้าใจข้อกฎหมายเรื่องนี้อย่างชัดแจ้ง จึงจะสามารถตั้งเรื่องฟ้องและสู้คดีได้ถูกต้อง วันนี้ผมจึงจะมาตอบคำถามทั้งหมด พร้อมทั้งยกข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาอธิบายและตัวอย่างจากประสบการณ์จริงครับ
สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้ และภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ตามกฎหมายของประเทศไทยนั้น หลักเกณฑ์การฟ้องชู้ในกรณีที่สามีฟ้องชายชู้ กับภรรยาฟ้องหญิงชู้นั้นมีหลักเกณฑ์ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ กรณีภรรยาฟ้องหญิงชู้นั้น กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ว่า หญิงชู้นั้นจะต้องมีพฤติการณ์แสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับสามี โดยชู้และสามีนั้น มีพฤติการณ์เปิดตัวหรือแสดงตัวว่าตนเองเป็นคนรัก บุคคลทั่วไป ทราบว่าหญิงชู้มีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับสามี
ทั้งนี้สามีกับหญิงชู้นั้นจะมี เพศสัมพันธ์กันหรือไม่ไม่ใช่เป็นเงื่อนไขของการฟ้องคดี ถึงแม้สามีกับหญิงชู้จะไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กัน หรือไม่ได้มีหลักฐานถึงขั้นว่าทั้งสองคนมีเพศสัมพันธ์กัน แต่หากมีพยานหลักฐานชัดเจนว่ามีการแสดงตนโดยเปิดเผย ว่าคบหาหรือมีความสัมพันธ์กันอย่างคนรัก เช่นมีการลงรูปคู่ด้วยกัน ถ่ายวีดีโอคู่กัน เดินกอดหรือแสดงตนว่าเป็นคนรักกันตามสถานที่ต่างๆ ก็สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้
เมื่อเข้าใจหลักกฎหมายเรื่องการฟ้องชู้แล้ว ผู้ต้องการฟ้องหรือทนายความโจทก์ ย่อมสามารถบอกได้ว่า พยานหลักฐานที่ต้องใช้ในการฟ้องชู้ หรือนำสืบประเด็นเรื่องการเป็นชู้นั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ซึ่งหมายถึงหลักฐานทั่วไป ที่จะต้องใช้ประกอบการร่างฟ้อง และกำหนดเรื่องค่าทดแทนที่จะเรียกร้อง เช่น
ทั้งนี้หากหลักฐานบางอย่างไม่มี ก็ยังไม่เป็นไร ยกเว้นอย่างเดียวคือต้องมีใบสำคัญการสมรส หรือหลักฐานการสมรส ถึงจะสามารถฟ้องได้
ซึ่งหมายถึงพยานหลักฐานที่จะชี้ให้เห็นว่า ชู้กับคู่สมรสมีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกันจริง เช่น
คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง
ที่ 2453/2521
โจทก์ถูกควบคุมตัวในข้อหาจ้างผู้อื่นฆ่าสามีจำเลย โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ปล่อยชั่วคราว การที่จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลโดยอ้างเหตุว่าไม่ควรให้ปล่อยชั่วคราวนั้น ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 เพราะศาลไม่ใช่เจ้าพนักงานตามความในกฎหมายมาตราดังกล่าวและไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 เพราะจำเลยมิได้ฟ้องหาว่าโจทก์กระทำความผิดอาญาประการใด
ที่ 4730/2553
โจทก์บรรยายฟ้องระบุไว้อย่างชัดเจนว่า จำเลยกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรมต่างกัน โดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยใต้ดิน) ซึ่งถือเอาผลของการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลงวดประจำวันที่ 1 กันยายน 2549 เป็นเลขถูกรางวัลสลากกินรวบ และจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยหุ้น) ซึ่งถือเอาเลขท้าย 2 ตัว ระหว่างจุดทศนิยมของดัชนีหุ้นเวลาเปิดและปิดตลาดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย งวดประจำวันที่ 1 กันยายน 2549 เป็นเลขถูกรางวัลสลากกินรวบ เมื่อข้อหาความผิด ตามฟ้องมิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้นและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และข้อเท็จจริง ย่อมรับฟังเป็นยุติได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้อง ซึ่งการที่จำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยใต้ดิน) โดยถือผลการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นเลขถูกรางวัลสลากกินรวบ และจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยหุ้น) ซึ่งถือเอาเลขท้าย 2 ตัว ระหว่างจุดทศนิยมของดัชนีหุ้นเวลาเปิดและปิดตลาดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นเลขถูกรางวัลสลากกินรวบเป็นการกระทำความผิดซึ่งอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้แม้จำเลยจะเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยใต้ดิน) และการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยหุ้น) ในคราวเดียวกัน และเป็นความผิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายเดียวกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยตามที่ปรากฏในคำฟ้องจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน หาใช่เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งจะต้องลงโทษจำเลยเพียงแต่กระทงเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ไม่
ที่ 79/2542
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1นำเจ้าพนักงานรังวัดออกโฉนดที่ดิน เลขที่ 8430ทับที่ดินพิพาทของโจทก์ และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนด กลับขอให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจึงบังคับตามคำขอไม่ได้ พิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้วคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 อีก แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทของโจทก์ตลอดไปก็ตามแต่ตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกภายหลังจากศาลชั้นต้นวินิจฉัยคดีก่อนแล้ว การที่โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน คดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในเขตจังหวัด ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61(2) การเพิกถอน โฉนดที่ดินพิพาทจึงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์มีหนังสือร้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะ พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินพิพาทของโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการให้ย่อมถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกจำเลยที่ 2 โต้แย้งแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
ที่ 79/2542
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าบริเวณที่เกิดเหตุอยู่บนถนนสุทธาวาสไม่ใช่หลังซอยโรงถ่านตามที่สิบตำรวจโท ก. และสิบตำรวจตรี พ. อ้างว่ามีอาชญากรรมเกิดขึ้นประจำแต่อย่างใด และจำเลยไม่มีท่าทางเป็นพิรุธคงเพียงแต่นั่งโทรศัพท์อยู่เท่านั้น การที่สิบตำรวจโท ก. และสิบตำรวจตรี พ. อ้างว่าเกิดความสงสัยในตัวจำเลยจึงขอตรวจค้น โดยไม่มีเหตุผลสนับสนุนว่าเพราะเหตุใดจึงเกิดความสงสัยในตัวจำเลย จึงเป็นข้อสงสัยที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกเพียงอย่างเดียว ถือไม่ได้ว่ามีเหตุอันควรสงสัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 ที่จะทำการตรวจค้นได้ การตรวจค้นตัวจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งถูกกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงมีสิทธิโต้แย้งและตอบโต้เพื่อป้องกันสิทธิของตน ตลอดจนเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งใด ๆ อันสืบเนื่องจากการปฏิบัติที่ไม่ชอบดังกล่าวได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง
ที่ 1809/2554
ความผิดข้อหาก่อสร้างดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเกิดขึ้นนับแต่วันทำการก่อสร้างอาคารต่อเนื่องกันไปจนถึงวันปลูกสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องต้องนับถัดจากวันที่ก่อสร้างดัดแปลงเสร็จลง มิใช่เป็นความผิดต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาที่ผู้กระทำยังไม่ได้รื้ออาคาร ส่วนเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนหรือร้องขอต่อศาลให้บังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารที่ฝ่าฝืนยังคงอยู่ เป็นเรื่องความรับผิดในทางแพ่ง
บทความที่เกี่ยวข้อง
หลักฐานการฟ้องชู้ มีอะไรบ้าง หลักฐานจะต้องชัดแค่ไหนจึงจะเพียงพอกับการฟ้องคดีชู้ ? จะหาพยานหลักฐานเรื่องชู้ได้จากไหน ? สืบชู้ต้องทำอย่างไร จ้างนักสืบจะคุ้มไหม ? คำถามเหล่านี้…
ทนายความ ให้คำปรึกษากฏหมายและรับว่าความทั่วราชอาณาจักร เผยแพร่บทความกฎหมายน่าสนใจ ตัวอย่างการต่อสู้คดี เทคนิคและเคล็ดลับในการดำเนินคดี จากประสบการณ์จริงของทนายความ
© 2025 AmanPartner
กำลังพัฒนาโดย Sixtygram Digital Agency.