หน้าแรก > บทความ > วิธีฟ้องชู้ ต้องชัดเจนแค่ไหนถึงจะฟ้องคดีได้ ?

บทความ

วิธีฟ้องชู้ ต้องชัดเจนแค่ไหนถึงจะฟ้องคดีได้ ?

หลักฐานการฟ้องชู้ มีอะไรบ้าง หลักฐานจะต้องชัดแค่ไหนจึงจะเพียงพอกับการฟ้องคดีชู้ ? จะหาพยานหลักฐานเรื่องชู้ได้จากไหน ? สืบชู้ต้องทำอย่างไร จ้างนักสืบจะคุ้มไหม ? คำถามเหล่านี้ เป็นถามที่คนที่ต้องการฟ้องชู้ทุกคนอยากรู้ และทนายความก็ต้องเข้าใจข้อกฎหมายเรื่องนี้อย่างชัดแจ้ง จึงจะสามารถตั้งเรื่องฟ้องและสู้คดีได้ถูกต้อง วันนี้ผมจึงจะมาตอบคำถามทั้งหมด พร้อมทั้งยกข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาอธิบายและตัวอย่างจากประสบการณ์จริงครับ

ข้อกฎหมายเรื่องการฟ้องชู้

สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้ และภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ตามกฎหมายของประเทศไทยนั้น หลักเกณฑ์การฟ้องชู้ในกรณีที่สามีฟ้องชายชู้ กับภรรยาฟ้องหญิงชู้นั้นมีหลักเกณฑ์ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ กรณีภรรยาฟ้องหญิงชู้นั้น กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ว่า หญิงชู้นั้นจะต้องมีพฤติการณ์แสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับสามี โดยชู้และสามีนั้น มีพฤติการณ์เปิดตัวหรือแสดงตัวว่าตนเองเป็นคนรัก  บุคคลทั่วไป ทราบว่าหญิงชู้มีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับสามี

ทั้งนี้สามีกับหญิงชู้นั้นจะมี เพศสัมพันธ์กันหรือไม่ไม่ใช่เป็นเงื่อนไขของการฟ้องคดี ถึงแม้สามีกับหญิงชู้จะไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กัน หรือไม่ได้มีหลักฐานถึงขั้นว่าทั้งสองคนมีเพศสัมพันธ์กัน แต่หากมีพยานหลักฐานชัดเจนว่ามีการแสดงตนโดยเปิดเผย ว่าคบหาหรือมีความสัมพันธ์กันอย่างคนรัก เช่นมีการลงรูปคู่ด้วยกัน ถ่ายวีดีโอคู่กัน เดินกอดหรือแสดงตนว่าเป็นคนรักกันตามสถานที่ต่างๆ ก็สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้

หลักฐานการฟ้องชู้ มีอะไรบ้าง 

เมื่อเข้าใจหลักกฎหมายเรื่องการฟ้องชู้แล้ว ผู้ต้องการฟ้องหรือทนายความโจทก์ ย่อมสามารถบอกได้ว่า พยานหลักฐานที่ต้องใช้ในการฟ้องชู้ หรือนำสืบประเด็นเรื่องการเป็นชู้นั้น  แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

หลักฐานเบื้องต้น

ซึ่งหมายถึงหลักฐานทั่วไป ที่จะต้องใช้ประกอบการร่างฟ้อง และกำหนดเรื่องค่าทดแทนที่จะเรียกร้อง เช่น

  1. สำเนาใบสำคัญการสมรส
  2. สำเนาบัตรประชาชน ของผู้ฟ้องคดี
  3. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อของเรา หรือของคู่สมรส
  4. ทะเบียนบ้าน ของผู้ฟ้องคดี
  5. สูติบัตร (เฉพาะในกรณีมีบุตรด้วยกัน)
  6. หลักฐานเกี่ยวกับอาชีพรายได้ของเราและคู่สมรส เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองเงินเดือน
  7. หลักฐานเกี่ยวกับวุฒิการศึกษาของเราและคู่สมรส เช่น สำเนาใบปริญญาบัตร 
  8. หลักฐานเกี่ยวกับการมีฐานะทางสังคมของเรา และคู่สมรส เช่น การดำรงตำแหน่งนักการเมือง การประกอบอาชีพดารา หรืออาชีพที่มีคนรู้จักเป็นจำนวนมาก 
  9. หลักฐานเกี่ยวกับการจัดงานแต่งงาน

ทั้งนี้หากหลักฐานบางอย่างไม่มี ก็ยังไม่เป็นไร ยกเว้นอย่างเดียวคือต้องมีใบสำคัญการสมรส หรือหลักฐานการสมรส ถึงจะสามารถฟ้องได้

หลักฐานเกี่ยวกับการเป็นชู้

ซึ่งหมายถึงพยานหลักฐานที่จะชี้ให้เห็นว่า ชู้กับคู่สมรสมีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกันจริง เช่น

  1. หลักฐานการสนทนากันระหว่างชู้กับคู่สมรส ผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ เฟสบุ๊ก  ( อ่านเพิ่มเติม เรื่อง การนำพยานหลักฐานอิเล็กโทรนิกส์มาใช้ในชั้นศาล  )
  2. หลักฐานรูปคู่ วีดีโอ ภาพถ่ายที่ได้จากการสืบชู้ ทีแสดงให้เห็นว่าตัวชู้กับคู่สมรส มีความสัมพันธ์กัน ( อ่านเพิ่มเติม เรื่อง การหาพยานหลักฐานประเภทกล้องจรปิดมาใช้เป็นพยานในชั้นศาล )
  3. หลักฐานการเดินทางไปสถานที่ต่างๆของคู่สมรส เช่น ใบเสร็จค่าที่พัก หลักฐานบันทึกการเดินทางจาก google map หลักฐานการเข้าพักโรงแรมต่างๆ 
  4. หลักฐานเกี่ยวกับการซื้อของให้กันระหว่างชู้กับคู่สมรส เช่นใบเสร็จรับโอน
  5. หลักฐานเกี่ยวกับการโอนเงินให้กันระหว่างคู่สมรส ใบเสร็จการโอนเงิน หรือสลิปการโอน
  6. หลักฐานการถ่ายรูปของชู้ ที่เป็นรูปเดี่ยว แต่อยู่ในสถานที่ของคู่สมรส หรือรูปถ่ายติดทรัพย์สินของคู่สมรส เช่นถ่ายแล้วติดรูปรถยนต์ รูปคอนโด รูปนาฬิกา รูปมือถือ ที่เป็นของคู่สมรส  
  7. พยานบุคคลที่รู้เห็นการเป็นชู้ 

หลักฐานเกี่ยวกับการเป็นชู้

  1. ตรวจสอบจาก google maps ว่าสามีเดินทางไปที่ไหนบ้าง สืบหาพยานหลักฐานต่อว่าสามีเดินทางไปที่ไหน 
  2. ติดตั้ง GPS ติดตามรถยนต์ของชู้หรือคู่สมรสเพื่อทราบว่าเดินทางไปสถานที่ไหนบ้าง
  3. ขอหมายเรียกกล้องวงจรปิดไปยังสถานที่ต่างๆที่ทราบข้อมูลมาว่า คู่สมรสกับชู้อยู่ด้วยกัน (อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความเรื่อง การขอออกหมายเรียกกล้องวงจรปิดเพื่อใช้นำสืบในคดีชู้  )
  4. หาหลักฐานใบเสร็จสลิปการโอนเงิน ที่แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ระหว่างชู้กับคู่สมรส 
  5. หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการไปพักยังสถานที่ต่างๆ เช่นกันจองที่พักตามแอพพลิเคชั่นเช่น travelgoda ,agoda 
  6. หลักฐานรูปถ่ายดูคลิปวีดีโอ ที่อาจจะมีการ backup ไว้application  ที่เป็นระบบ cloud เก็บรูปภาพ ต่างๆ เช่น google photo ,apple ID , dropbox 
  7. สืบตามสื่อออนไลน์ต่างๆของตัวชู้และสามี เช่น facebook instagram twitter โดยสืบหาว่ามีการลงรูปคู่กันในทำนองชู้สาวหรือไม่ และสืบหาว่าเดินทางไปสถานที่ไหนบ้างเพื่อตามสืบต่อไป 
  8. ให้ทีมงานตามสืบการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆของสามีและตัวชู้ 
  9. สูติบัตรหรือทะเบียนบ้านของชู้ เพื่อสืบว่าชู้กับคู่สมรส มีบุตรด้วยกันหรือไม่ 
  10. คลิปเสียงการสนทนาซึ่งมีการบันทึกไว้ในโทรศัพท์ ,ตรวจสอบหลักฐานการโทรเข้าโทรออกในโทรศัพท์ของคู่สมรส

คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง

ที่ 2453/2521

โจทก์ถูกควบคุมตัวในข้อหาจ้างผู้อื่นฆ่าสามีจำเลย โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ปล่อยชั่วคราว การที่จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลโดยอ้างเหตุว่าไม่ควรให้ปล่อยชั่วคราวนั้น ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 เพราะศาลไม่ใช่เจ้าพนักงานตามความในกฎหมายมาตราดังกล่าวและไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 เพราะจำเลยมิได้ฟ้องหาว่าโจทก์กระทำความผิดอาญาประการใด

ที่ 4730/2553

โจทก์บรรยายฟ้องระบุไว้อย่างชัดเจนว่า จำเลยกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรมต่างกัน โดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยใต้ดิน) ซึ่งถือเอาผลของการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลงวดประจำวันที่ 1 กันยายน 2549 เป็นเลขถูกรางวัลสลากกินรวบ และจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยหุ้น) ซึ่งถือเอาเลขท้าย 2 ตัว ระหว่างจุดทศนิยมของดัชนีหุ้นเวลาเปิดและปิดตลาดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย งวดประจำวันที่ 1 กันยายน 2549 เป็นเลขถูกรางวัลสลากกินรวบ เมื่อข้อหาความผิด ตามฟ้องมิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้นและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และข้อเท็จจริง ย่อมรับฟังเป็นยุติได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้อง ซึ่งการที่จำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยใต้ดิน) โดยถือผลการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นเลขถูกรางวัลสลากกินรวบ และจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยหุ้น) ซึ่งถือเอาเลขท้าย 2 ตัว ระหว่างจุดทศนิยมของดัชนีหุ้นเวลาเปิดและปิดตลาดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นเลขถูกรางวัลสลากกินรวบเป็นการกระทำความผิดซึ่งอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้แม้จำเลยจะเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยใต้ดิน) และการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยหุ้น) ในคราวเดียวกัน และเป็นความผิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายเดียวกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยตามที่ปรากฏในคำฟ้องจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน หาใช่เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งจะต้องลงโทษจำเลยเพียงแต่กระทงเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ไม่

ที่ 79/2542

คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1นำเจ้าพนักงานรังวัดออกโฉนดที่ดิน เลขที่ 8430ทับที่ดินพิพาทของโจทก์ และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนด กลับขอให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจึงบังคับตามคำขอไม่ได้ พิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้วคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 อีก แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทของโจทก์ตลอดไปก็ตามแต่ตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกภายหลังจากศาลชั้นต้นวินิจฉัยคดีก่อนแล้ว การที่โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน คดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในเขตจังหวัด ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61(2) การเพิกถอน โฉนดที่ดินพิพาทจึงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์มีหนังสือร้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะ พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินพิพาทของโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการให้ย่อมถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกจำเลยที่ 2 โต้แย้งแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

ที่ 79/2542

เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าบริเวณที่เกิดเหตุอยู่บนถนนสุทธาวาสไม่ใช่หลังซอยโรงถ่านตามที่สิบตำรวจโท ก. และสิบตำรวจตรี พ. อ้างว่ามีอาชญากรรมเกิดขึ้นประจำแต่อย่างใด และจำเลยไม่มีท่าทางเป็นพิรุธคงเพียงแต่นั่งโทรศัพท์อยู่เท่านั้น การที่สิบตำรวจโท ก. และสิบตำรวจตรี พ. อ้างว่าเกิดความสงสัยในตัวจำเลยจึงขอตรวจค้น โดยไม่มีเหตุผลสนับสนุนว่าเพราะเหตุใดจึงเกิดความสงสัยในตัวจำเลย จึงเป็นข้อสงสัยที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกเพียงอย่างเดียว ถือไม่ได้ว่ามีเหตุอันควรสงสัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 ที่จะทำการตรวจค้นได้ การตรวจค้นตัวจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งถูกกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงมีสิทธิโต้แย้งและตอบโต้เพื่อป้องกันสิทธิของตน ตลอดจนเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งใด ๆ อันสืบเนื่องจากการปฏิบัติที่ไม่ชอบดังกล่าวได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง

ที่ 1809/2554

ความผิดข้อหาก่อสร้างดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเกิดขึ้นนับแต่วันทำการก่อสร้างอาคารต่อเนื่องกันไปจนถึงวันปลูกสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องต้องนับถัดจากวันที่ก่อสร้างดัดแปลงเสร็จลง มิใช่เป็นความผิดต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาที่ผู้กระทำยังไม่ได้รื้ออาคาร ส่วนเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนหรือร้องขอต่อศาลให้บังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารที่ฝ่าฝืนยังคงอยู่ เป็นเรื่องความรับผิดในทางแพ่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง